คะแนนโอเน็ตม.3,ม.6ต้องเกิน50%
15 มิถุนายน 2554 - 00:00
สพฐ.เพิ่มเกณฑ์ความเข้มให้นักเรียนตั้งใจสอบโอเน็ต ชั้น ม.3, ม.6 ต้องทำคะแนนโอเน็ต "วิชาภาษาไทย-คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์" ได้ไม่ต่ำกว่า 50% เบื้องต้นให้สำนักวิจัยฯ ไปศึกษาคาดใช้ทันปลายปีการศึกษา 54 นี้ เผยทำโรดแม็ปยกระดับคะแนนโอเน็ตทุกวิชาอยู่ ส่วนคะแนนโอเน็ตเลื่อนชั้นขึ้น ม.1, ม.4 ให้จัดเสวนารับฟังความคิดเห็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหาร สพฐ. ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับเรื่องการขับเคลื่อน เพื่อยกระดับคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ซึ่งตนได้มอบให้สำนักทดสอบทางการศึกษาของ สพฐ.ไปประชุมร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อกำหนดเป้าหมายที่คาดหวังของค่าคะแนนโอเน็ตในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 หรือชั้น ม.3 และชั้น ม.6 โดยจะกำหนดให้วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มีผลต่างๆ เบื้องต้นต้องให้สำนักวิจัยและพัฒนาของ สพฐ.ศึกษาก่อนว่าจะกำหนดเกณฑ์อะไร อาทิ ควรได้คะแนนโอเน็ตแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่าเท่าไหร่ โดยให้นำหลักวิชาและข้อมูลสถิติย้อนหลังมาเป็นตัวกำหนดเป้าหมาย ก่อนหน้านี้ สพฐ.ได้กำหนดเป้าหมายของคะแนนของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 2 หรือชั้น ป.6 ไปแล้ว ซึ่งเด็กจะต้องได้คะแนนในวิชาภาษาไทยไม่ต่ำกว่า 35% และคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 40% อย่างไรก็ตาม ตนคาดว่าแผนที่จะยกระดับคะแนนโอเน็ตในช่วงชั้นที่กล่าวมาทั้งหมด จะสามารถปรับใช้ได้ทันปลายปีการศึกษา 2554 ได้
“เบื้องต้นผมคาดว่าเป้าหมายคะแนนโอเน็ตในวิชาที่กล่าวมาของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 คงไม่น่าเกิน 50% เพราะ สพฐ.ก็ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม หากเขตพื้นที่การศึกษาหรือโรงเรียนใดทำคะแนนโอเน็ตได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ก็จะต้องมีเหตุผลชี้แจง และมีแผนที่จะดำเนินการเร่งรัด ทั้งนี้ หากข้าราชการครูคนใดหรือหน่วยงานการศึกษาใดดำเนินการยกระดับคะแนนโอเน็ตได้สำเร็จ ก็จะสามารถไปใช้เป็นส่วนประกอบในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายประจำปีด้วย” นายชินภัทรกล่าว
เลขาธิการ สพฐ.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สพฐ.ยังได้เตรียมจัดทำแผนขับเคลื่อน (โรดแม็ป) ในการยกระดับคะแนนโอเน็ตให้สูงขึ้นทั้ง 5 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนเรื่องการนำคะแนนโอเน็ตไปใช้ในการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 และ ม.4 นั้น ที่ประชุมมีมติที่จะให้มีการจัดประชุมเสวนารับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแนวทางในการระดมทรัพยากรต่อไป.
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหาร สพฐ. ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับเรื่องการขับเคลื่อน เพื่อยกระดับคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ซึ่งตนได้มอบให้สำนักทดสอบทางการศึกษาของ สพฐ.ไปประชุมร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อกำหนดเป้าหมายที่คาดหวังของค่าคะแนนโอเน็ตในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 หรือชั้น ม.3 และชั้น ม.6 โดยจะกำหนดให้วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มีผลต่างๆ เบื้องต้นต้องให้สำนักวิจัยและพัฒนาของ สพฐ.ศึกษาก่อนว่าจะกำหนดเกณฑ์อะไร อาทิ ควรได้คะแนนโอเน็ตแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่าเท่าไหร่ โดยให้นำหลักวิชาและข้อมูลสถิติย้อนหลังมาเป็นตัวกำหนดเป้าหมาย ก่อนหน้านี้ สพฐ.ได้กำหนดเป้าหมายของคะแนนของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 2 หรือชั้น ป.6 ไปแล้ว ซึ่งเด็กจะต้องได้คะแนนในวิชาภาษาไทยไม่ต่ำกว่า 35% และคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 40% อย่างไรก็ตาม ตนคาดว่าแผนที่จะยกระดับคะแนนโอเน็ตในช่วงชั้นที่กล่าวมาทั้งหมด จะสามารถปรับใช้ได้ทันปลายปีการศึกษา 2554 ได้
“เบื้องต้นผมคาดว่าเป้าหมายคะแนนโอเน็ตในวิชาที่กล่าวมาของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 คงไม่น่าเกิน 50% เพราะ สพฐ.ก็ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม หากเขตพื้นที่การศึกษาหรือโรงเรียนใดทำคะแนนโอเน็ตได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ก็จะต้องมีเหตุผลชี้แจง และมีแผนที่จะดำเนินการเร่งรัด ทั้งนี้ หากข้าราชการครูคนใดหรือหน่วยงานการศึกษาใดดำเนินการยกระดับคะแนนโอเน็ตได้สำเร็จ ก็จะสามารถไปใช้เป็นส่วนประกอบในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายประจำปีด้วย” นายชินภัทรกล่าว
เลขาธิการ สพฐ.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สพฐ.ยังได้เตรียมจัดทำแผนขับเคลื่อน (โรดแม็ป) ในการยกระดับคะแนนโอเน็ตให้สูงขึ้นทั้ง 5 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนเรื่องการนำคะแนนโอเน็ตไปใช้ในการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 และ ม.4 นั้น ที่ประชุมมีมติที่จะให้มีการจัดประชุมเสวนารับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแนวทางในการระดมทรัพยากรต่อไป.
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554
0 ความคิดเห็น: