Hot cookies are waiting for you !!

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam, quis nostrud exercitation ullamco laboris nisi ut aliquip ex ea commodo consequat. Duis aute irure dolor in reprehenderit in voluptate velit esse cillum dolore eu fugiat nulla pariatur.

พรรคเพื่อไทยจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
พรรคเพื่อไทย

ผู้นำ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
เลขาธิการ จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
โฆษก พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
นโยบาย สานต่อนโยบายแก้ความยากจน ยาเสพติด ทุจริตคอรัปชั่น เดินหน้านโยบายใหม่ : ก้าวข้ามวิกฤติสู่สังคมสันติสุข : รับจำนำข้าวและออกบัตรเครดิตเกษตรกร : กองทุนตั้งตัวได้ คืนภาษีบ้านหลังแรก/รถคันแรก : พัฒนาโครงข่ายระบบราง : เพิ่มเงินเดือนปริญญาตรี/ค่าแรงขั้นต่ำ : ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาไทย - คอมพิวเตอร์ฟรี - อินเตอร์เน็ตฟรีในที่สาธารณะ เพิ่มกองทุน ICL : 1 อำเภอ 1 ทุนต่างประเทศ : สร้างเมกะโปรเจ็คท์กระตุ้นเศรษฐกิจ - ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพ/ภาคกลาง - พัฒนาระบบน้ำทั้งประเทศ - สะพานเชื่อมเศรษฐกิจภาคใต้[1]
คำขวัญ ขอคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน... อีกครั้ง
ก่อตั้ง 20 กันยายน พ.ศ. 2550 (3 ปี)
สำนักงานใหญ่ 1770 อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
สีของพรรค สีน้ำเงินและสีแดง
เว็บไซต์
www.ptp.or.th
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548-2554


ชนวนเหตุ
ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ระบอบทักษิณปัญหาทุจริตการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิการขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป
ลำดับเหตุการณ์หลัก
ขับไล่ทักษิณจากตำแหน่งนายกฯรัฐประหาร พ.ศ. 2549คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549พันธมิตรฯ ชุมนุม พ.ศ. 2551คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551เหตุการณ์ความไม่สงบ เมษายน พ.ศ. 2552แนวร่วมประชาธิปไตยฯ ชุมนุม พ.ศ. 2553คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2553
พรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง
พรรคการเมืองใหม่พรรคกิจสังคมพรรคชาติไทยพัฒนาพรรคประชาธิปัตย์พรรคประชาราชพรรคเพื่อแผ่นดินพรรคเพื่อไทยพรรคภูมิใจไทยกลุ่มเพื่อนเนวินพรรคมาตุภูมิพรรครวมชาติพัฒนา
องค์กร กลุ่มบุคคล ที่เกี่ยวข้อง
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติกลุ่มคนเสื้อน้ำเงินกลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์คณะปฏิรูปการปกครองฯคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
การเมืองไทย • ประวัติศาสตร์ไทย

พรรคเพื่อไทย (ย่อว่า: พท.) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยมี นายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ นายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก

สำนักงานใหญ่ของพรรค ตั้งอยู่ที่ 1770 อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10310 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน (ย้ายมาจากอาคารนวสร ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และ 626 อาคาร บีบีดี บิลดิง ซอยจินดาถวิล ถนนพระรามที่ 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500) และสำนักงานสาขาพรรคแห่งแรก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นสาขาพรรคพลังประชาชนเดิม[2]

เนื้อหา
1 ประวัติ
1.1 ยุค ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นหัวหน้าพรรค
1.1.1 อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชนเข้าร่วมพรรค
1.2 ยุคนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นหัวหน้าพรรค
2 บทบาทในรัฐสภา
2.1 การสนับสนุน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นนายกรัฐมนตรี
2.2 การเลือกตั้ง
2.2.1 การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
2.2.2 การเลือกตั้งซ่อม 29 ที่นั่งทั่วประเทศ
2.3 การเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดสกลนครและศรีสะเกษ
2.3.1 จังหวัดสกลนคร
2.3.2 จังหวัดศรีสะเกษ
2.4 การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครม.อภิสิทธิ์ 1
3 การลาออกของสมาชิกคนสำคัญ
4 หัวหน้าพรรค
5 เลขาธิการพรรค
6 คณะกรรมการบริหารพรรค
6.1 ชุดที่ 4 (15 กันยายน พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน)
6.2 ชุดที่ 3 (7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 กันยายน พ.ศ. 2553)
6.3 ชุดที่ 2 (21 กันยายน พ.ศ. 2551 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551)
6.4 ชุดที่ 1 (20 กันยายน พ.ศ. 2550 - 20 กันยายน พ.ศ. 2551)
7 เครื่องหมายพรรค
8 ดูเพิ่ม
9 อ้างอิง
10 แหล่งข้อมูลอื่น


ประวัติยุค ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นหัวหน้าพรรคที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคนัดพิเศษ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551 มีมติให้ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นหัวหน้าพรรค นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร เป็นเลขาธิการพรรค นายศักดา นพสิทธิ์ เป็นโฆษกพรรค และ นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ เป็นผู้อำนวยการพรรค[3][4][5]

ต่อมา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ดร.สุชาติได้ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค โดยให้เหตุผลว่า ขณะนี้ บุคคลที่มีประสบการณ์ทางการเมืองจำนวนมาก ได้เข้ามาสมัครเป็นสมาชิกพรรค ตนจึงต้องการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสม เข้ารับตำแหน่งต่อไป นอกจากนี้ ตนก็ยังเป็นสมาชิกพรรคอยู่ ส่วนจะรับตำแหน่งอื่นภายในพรรคหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเพื่อนสมาชิก[6]

อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชนเข้าร่วมพรรคดูบทความหลักที่ คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551
หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมแล้ว ส.ส.และสมาชิกพรรคเกือบทั้งหมดได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทย[7] ยกเว้นกลุ่มเพื่อนเนวิน ซึ่งภายหลังย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย โดยในการยุบพรรคการเมืองครั้งนี้ได้ส่งผลให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย

ยุคนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นหัวหน้าพรรคจากนั้น เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 4/2551 ของพรรคขึ้น ที่อาคารที่ทำการพรรค โดยมีวาระสำคัญคือ การลงมติเลือกหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยในส่วนหัวหน้าพรรค มีการเสนอชื่อ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รักษาการรองหัวหน้าพรรค เพียงรายชื่อเดียว นายยงยุทธจึงได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคไปอย่างไม่มีคู่แข่ง ส่วนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ได้รับการคาดหมายว่าจะขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่นั้น ที่ประชุมมีมติให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค[8]

บทบาทในรัฐสภา